วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของเกลือแร่


เกลือแร่ (อังกฤษ: Dietary mineral) มีบทบาทและหน้าที่สำคัญใน ร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของ เซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท[1] เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน นอกจากนี้ เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะ จากความสำคัญและหน้าที่ ดังกล่าวนั้น จะเห็นว่า เกลือแร่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องได้ รับเพียงพอ ร่างกายจึงจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และแข็งแรง อาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของเกลือแร่ทั้งชนิดหลักและชนิดปริมาณน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหาร ตัวอย่าง เกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดงและโพแทสเซียม
ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีดังต่อไปนี้
·           แคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และหัวใจ เป็นธาตุที่จำเป็นในการแข็งตัวของเลือด มีอยู่มากในนม และเนื้อสัตว์ประเภทที่กินได้ทั้งกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และทารกที่กำลังเจริญเติบโตไปจนถึงวัยรุ่นควรกินแคลเซียมมากกว่าปกติ
·           เหล็ก เป็นตัวนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงในส่วนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินซึ่งเป็นตัวพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และพาคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอดเพื่อขับถ่ายออกในรูปการหายใจ ในประเทศร้อน เมื่อเหงื่อออกมาก อาจมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปกับเหงื่อได้ อาหารที่มีเหล็กมากได้แก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ด ผักใบเขียวบางชนิด
·           ไอโอดีน ส่วนใหญ่ไอโอดีนจะอยู่ในต่อมไทรอยด์ ซึ่งอยู่ที่คอส่วนล่าง ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอกซิน ถ้าหากร่างกายมีการขาดไอโอดีนตั้งแต่เด็ก จะทำให้เป็นโรคเอ๋อ ร่างกายแคระแกร็น และเป็นโรคคอพอก อาหารที่มีไอโอดีนได้แก่ อาหารทะเล และเกลืออนามัย วัยรุ่น หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตรต้องการไอโอดีนสูง
·           แมกนีเซียม มีมากในอาหารหลายชนิด เช่น ถั่ว ข้าวแดง ข้าววีท ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ผักใบเขียว(หากหุงต้มนานเกินไปจะทำให้แมกนีเซียมหลุดออกไปหมด) แมกนีเซียมมีประโยชน์ดังนี้
ทำงานร่วมกับแคลเซียม หากร่างกายขาดแมกนีเซียม ฟันจะไม่แข็งแรง
การที่ร่างกายมีแมกนีเซียมต่ำ จะทำให้ความดันโลหิตสูง และเป็นโรคหัวใจ
ผู้ใหญ่จะต้องการแมกนีเซียมประมาณ 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน
·        ซีลีเนียม เป็นธาตุที่มีสมบัติเหมือนกำมะถัน ร่างกายต้องการซีลีเนียมน้อยมาก หากได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตราย อาหารที่มีซีลีเนียมมาก ได้แก่ข้าวสาลี ตับ ไต ปลาทูน่า ประโยชน์ของซีลีเนียมมีดังนี้
มีการทำงานสัมพันธ์กันกับวิตามินอี ซึ่งมีผลในการป้องกันโรคหัวใจ
เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ชนิดหนึ่งชื่อว่า ซีลีโนโปรตีน เอนไซม์นี้ป้องกันไม่ให้สารพิษชื่อว่า ฟรีแรดิกัล เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์
ช่วยลดการแพ้เคมีภัณฑ์ต่างๆได้
ช่วยลดการแพ้มลพิษจากอากาศ
·        สังกะสี เป็นธาตุที่เราต้องรับเป็นประจำในปริมาณที่น้อยมาก เพราะถ้ามากเกินไปก็จะก่อให้เกิดอันตราย อาหารที่มีสังกะสีมาก ได้แก่ ตับ ข้าวสาลีข้าวโพด ถั่ว หอยนางรม ประโยชน์ของสังกะสีมีดังนี้
หากกินอาหารที่มีสังกะสีในปริมาณต่ำมาก จะทำให้เจริญเติบโตช้า ขนร่วง
มีความสำคัญในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน
เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์อินซูลิน ซึ่งช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลที่เรากินเข้าไป ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร่างกายจะมีสังกะสีต่ำกว่าคนปกติ
หากขาดจะเป็นโรคตาบอดสี (เรตินาในตาของคนจะมีสังกะสีอยู่ในปริมาณสูง)
ช่วยเพิ่มให้รู้สึกว่าอาหารหวานยิ่งขึ้น ทำให้คนกินหวานน้อยลง
บำรุงรักษาผิวหนัง และสิวฝ้า
· โครเมียม ร่างกายต้องการน้อยมาก ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะเกิดอันตราย อาหารที่มีโครเมียมมาก ได้แก่ ไข่แดง ตับ หอย มันเทศ ยีสต์หมักเหล้าประโยชน์ของโครเมียมมีดังนี้
ช่วยในการเผาผลาญน้ำตาล
ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน[2]

หน้าที่โดยทั่วไป[แก้]

1.  รักษาความสมดุลของกรดและด่างในร่างกาย
2.  เป็นตัวเร่งสำหรับปฏิกิริยาทางชีว
3.  เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย
4.  รักษาความสมดุลของน้ำในร่างกาย
5.  ช่วยในการรับ-ส่งประสาทความรู้สึก
6.  ควบคุมการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อ

7.  ช่วยในการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้รับ


วิตามิน 


วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้รับในปริมาณเล็กน้อย สำหรับการเติบโต ขยายพันธุ์ และช่วยให้มีสุขภาพดี ถ้าสิ่งมีชีวิตขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งจะมีอาการป่วยซึ่งมีลักษณะเฉพาะขึ้นกับวิตามินที่ขาด
วิตามินแบ่งออกเป็น 2 จำพวก คือ
·           วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ A, D, E, K
·           วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ B, C

ประโยชน์ของวิตามิน[แก้]

·           วิตามินเอ เป็นสารต้านแบร่อนุมูลอิสระ ช่วยในการมองเห็น ป้องกันโรคตาบอด บำรุงสายตา บำรุง ผม และเล็บ
·           วิตามินบี 1 บำรุงประสาท แก้เหน็บชา ช่วยเผาพลาญคาร์โบไฮเดรต ไปเป็นพลังงาน ถ้าขาดจะหงุดหงิดง่าย
·           วิตามินบี 2 ช่วยเผาพลาญคาร์โบไฮเดรต ถ้าขาดจะเป็นแผลที่มุมปาก ผิวจะแตกหยาบกระด้าง
·           วิตามินบี 3 ช่วยเผาพลาญไขมัน และคาร์โบไฮเดรต บำรุงผิวหนังและระบบประสาท
·           วิตามินบี 5 ช่วยเผาพลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน ลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด นอนไม่หลับ
·           วิตามินบี 6 ช่วยบรรเทาอาการก่อนจะมีประจำเดือน แก้แพ้ท้อง บำรุงประสาท ลดอาการไขมันอุดตันในเส้นเลือด
·           วิตามินบี 7 ช่วยในการย่อยหรือแตกตัวของโปรตีนและไขมัน
·           วิตามินบี 9 ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง เสริมความจำ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ และมะเร้งเต้านม ถ้าในเลือดมีกรดโฟลิกต่ำ ทำให้จิตใจหดหู่ ขาดความรู้สึกทางเพศ
·           วิตามินบี 12 ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือด บำรุงประสาท ป้องกันอาการอ่อนเพลีย เนื่องจากโรคโลหิตจาง
·           วิตามินซี ต้านอนุมูลอิสระ สร้างคอลลาเจน ช่วยควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล บำรุงผิวพรรณและกระดูก ป้องกันโรคมะเร็ง ลดอาการภูมิแพ้ ช่วยบรรเทาอาการหวัด
·           วิตามินดี บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคกระดูกอ่อนในเด็ก ทำหน้าที่ควบคุมการดูดซึมแคลเซียม
·           วิตามินอี ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
·           วิตามินเค ช่วยให้เลือดแข็งตัว

ละลายในไขมัน           เอ
เรตินอล บีตา-แคโรทีน • Tretinoin • แอลฟา-แคโรทีน           
v.ดี
ดี2 (Ergosterol, Ergocalciferol)
ดี3 (7-Dehydrocholesterol, Previtamin D3, Cholecalciferol,
25-hydroxycholecalciferol, Calcitriol (1,25-dihydroxycholecalciferol),
Calcitroic acid)
ดี4 (Dihydroergocalciferol) • ดี5ดีแอนะล็อก (Dihydrotachysterol, Calcipotriol,
 Tacalcitol, Paricalcitol)           
v.อี โทโคเฟอรอล (แอลฟา, บีตา, แกมมา, เดลตา) โทโคไตรเออนอล • Tocofersolan           
v.เค แนฟโทควิโนน ฟิลโลควิโนน/เค1 • Menatetrenone/เค2เมนาไดโอน/เค3
           
ละลายในน้ำ    บี
บี1 (ไทอามีน) บี2 (ไรโบเฟลวิน) บี3 (ไนอาซิน, นิโคตินาไมด์)
บี5 (กรดแพนโทเทนิก, เดกซ์แพนทีนอล, แพนเททีน) บี6 (ไพริดอกซีน, ไพริดอกซาลฟอสเฟต, ไพริดอกซามีน)
บี7 (ไบโอติน) บี9 (กรดโฟลิก, กรดไดไฮโดรโฟลิก, กรดโฟลินิก)
บี12 (Cyanocobalamin, Hydroxocobalamin, Methylcobalamin, Cobamamide) • โคลีน



บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
เครื่องกรองน้ำที่ดี มีผลต่อสุขภาพ
น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสคืออะไร
ทางเลือกเพื่อสุขภาพท่านชาย

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
อาหารเสริมเพื่อสุขภา

การลดความอ้วนที่ถูกต้อง

Cradit by วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี